บทนำ
การจัดรูปแบบการจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นการจัดองค์ประกอบต่างๆในหน้าที่สื่อสิ่งพิมพ์ให้มีความสมบูรณ์ตรงกับวัตถุประสงค์ในการผลิต ได้แก่ การเลือกรูปแบบตัวอักษร สีตัวอักษร ชนิดของกระดาษ ขนาดกระดาษ การตั้งค่าหน้ากระดาษ การกำหนดตำแหน่งภาพ ตำแหน่งข้อความ และวัสดุในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ รูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีความหลากหลายตามลักษณะการใช้งาน ส่งผลให้การเลือกวัสดุที่ใช้ในการผลิตแตกต่างกันออกไป การจัดรูปแบบและจัดหน้า สื่อสิ่งพิมพ์จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
3.1 รูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์
สื่อสิ่งพิมพ์ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ที่ทันสมัยการพิมพ์จึงไม่ใช่การพิมพ์บนวัตถุที่เป็นกระดาษเพียงอย่างเดียวแต่รวมถึงวัตถุอื่นๆมากมายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ที่ใช้ต่างกันในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ให้ได้ตามรูปแบบที่ต้องการเมาะสมกับการใช้งานจะขึ้นอยู่กับขั้นตอนในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ให้ได้รูปแบบที่ต้องการในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด ได้แก่ การกำหนดวัตถุประสงค์ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ว่าจะผลิตเพื่ออะไรเหมาะสมกับใครวัยใดคำนึงถุงรูปแบบของเลเอาต์ การจัดองค์ประกอบในสื่อสิ่งพิมพ์ การจัดตำแหน่งข้อความ ตำแหน่งรูปภาพ ประเภทการพิมพ์ วัตถุที่ใช้ในการพิมพ์เช่น กระดาษ พลาสติก โลหะ เป็นต้น สื่อสิ่งพิมพ์จึงมีรูปแบบที่หลากหลายและแตกต่างดังนี้
3.1.1 สื่อสิ่งพิมพ์เชิงพาณิชย์
สื่อสิ่งพิมพ์เชิงพาณิชย์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่นิยมใช้ในวงการธุรกิจ ทางด้านการตลาด การติดต่อซื้อขาย การโฆษณาและประชาสัมพันธ์เช่น หนังสือ นามบัตร โบว์ชัวร์ เป็นต้น
รูปที่ 3.1 สื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบ สื่อสิ่งพิมพ์เชิงพาณิชย์
3.1.2 สื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบบัตรพลาสติก(PlasticCard)
บัตรพลาสติกเป็นสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับงานที่ต้องการความแตกต่างและป้องกันการปลอมแปลง
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบของเครื่องเขียนมีทั้งที่เหมาะสมกับนักเรียนคนทำงาน และคนทั่วไปเครื่องเขียนที่ผลิตเพื่อจำหน่ายเน้นที่การใช้ประโยชน์ความสวยงาม และความแปลกใหม่ของสินค้า
ออกาไนเซอร์ |
รูปที่ 3.3 สื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบเครื่องเขียน
3.1.4 สื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
บรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าให้กับตัวสินค้าด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
กล่องกระดาษ |
รูปที่ 3.4 สื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบของบรรจุภัณฑ์
3.1.5 สื่อสิ่งพิมพ์รูปแบปฏิทิน(Calender)
ปฏิทินมีรูปแบบที่เป็นแบบปฏิทินตั้งตั้งโต๊ะ ปฏิทินแขวน ปฏิทินพกพา และตารางเวลารอบปี
ปฏิทินตั้งโต๊ะ |
ตารางเวลารายปี |
ปฏิทินพก |
รูปที่ 3.5 สื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบปฏิทิน
3.1.6 สื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบของพรีเมี่ยม (Premium)
สื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบของพรีเมี่ยมเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ต้องใช้เทคนิคพิเศษและวัสดุหลากหลายเพื่อสร้างความน่าสนใจใช้เก็บเป็นของสะสมหรือใช้ในลักษณะสื่อประชาสัมพันธ์
ของเล่นโฟม |
รูปที่ 3.6 สื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบของพรีเมี่ยม
3.1.7 สื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบของเล่น(Toye)
สื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบของเล่นเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบในการสร้างเกมส์เพื่อให้เด็กเล่นและเรียนรู้จากสัมผัสซึ่งใช้วัสดุที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก
กระดานเกม |
สติ๊กเกอร์แทตทู |
รูปที่ 3.7 สื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบของเล่น
3.1.8 สื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบป้ายโฆษณา (Display)
ป้ายโฆษณาเพื่อเผยแพร่ทโฆษณาประชาสัมพันธ์ข่าวสาร สินค้า และบริการต่างๆป้ายโฆษณาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ โปสเตอร์ ธงโฆษณาสินค้าป้ายชนิดหมุนไปมา
โปสเตอร์ |
รูปที่ 3.8 สื่อสิ่งพิมพ์แบบป้ายโฆษณา
3.2 การจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์
การจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นการกำหนดจัดวางตำแหน่งของข้อความและรูปภาพให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมตามรูปแบบของการจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์
3.2.1 รูปแบบการจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์
1.รูปแบบการจัดหน้าแบบแบ่งออกเป็นส่วน คือ การแบ่งหน้าออกเป็น 4 ส่วนโดยใช้เส้นตามรอยพับครึ่งตามแนวนอนและแนวตั้งแต่ละส่วนมีจุดสำคัญในตัวเอง ให้ด้านซึ่งอยู่ตรงข้ามกันตามเส้นทแยงมุมมีความสมดุล
รูปที่ 3.9 รูปแบบการจัดหน้าแบบแบ่งออกเป็นส่วน |
2.รูปแบบการจัดหน้าแบบสมดุลเป็นการจัดส่วนประกอบในหน้ากระดาษ เช่น หัวเรื่องภาพล้อมกรอบ เนื้อเรื่องจะให้อยู่ในตำแหน่งสมดุล เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
(1) รูปแบบสมรูปคือ การสมดุลแบบซ้ายขวาเท่ากัน
รูปที่3.10 รูปแบบการจัดหน้าแบบสมรูป |
(2) รูปแบบอสมรูปคือ การสมดุลแบบซ้ายและขวาไม่เท่ากัน
รูปที่ 3.11 รูปแบบการจัดหน้าแบบอสมรูป |
3. รูปแบบการจัดหน้าตามแนวนอน (Horizontal) คือการวางหัวเรื่องหลายๆคอลัมน์ตาม
ขวางของหน้ากระดาษเนื้อหาส่วนใหญ่จะจัดเป็นคอลัมน์สั้นๆเข้ากันภายใต้หัวเรื่อง
4.รูปแบบการจัดหน้าตามแนวติ่ง (Vertical) หรือตามความยาวของคอลัมน์เนื้อหาเรียงตามเป็นความยาวของคอลัมน์ภายใต้หัวข้อนั้นๆ
รูปที่ 3.13 รูปแบบการจัดหน้าตามแนวดิ่ง |
5.รูปแบบการจัดหน้าตามความนิยม
(1) แบบมอนเตรียน (Mondrian) มีจุดเด่นที่มีการนำรูปทรงเลขาคณิตมาประกอบให้เป็นสัดส่วน นิยมใช้รูปทรงเนื้อที่แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า
รูปที่ 3.14 รูปแบบการจัดหน้าแบบมอนเดรียม |
(2)แบบการเน้นภาพ (Picture window Layout) เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากโดยมีจุดเด่นอยู่ที่ภาพเพราะเป็นการใช้ภาพที่มีขนาดใหญ่เพียงภาพเดียวโดยกินเนื้อที่เกือบทั้งหมดและมีข้อความเกือบเล็กน้อยอยู่เบื้องล่างซึ่งคล้ายกับการจ้องมองไปที่หน้าต่างและมองบนภาพ
รูปที่ 3.15 รูปแบบการจัดหน้าแบบการเน้นภาพ |
(3) แบบเนื้อกรอบภาพ เป็นการนำส่วนประกอบต่างๆวางไว้ภาพใต้กรอบภาพเพื่อให้รู้ว่าเป็นเรื่องราวของชิ้นงาน
รูปที่ 3.16 รูปแบบการจัดหน้าแบบเน้นกรอบภาพ |
(4)แบบตัวอักษรใหญ่ (Big Type Layout) จัดหน้าโดยนำภาพที่ผู้อ่านสงสัยเพื่อจะได้แสวงหาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งที่เสนอ
รูปที่ 3.17 รูปแบบการจัดหน้าแบบตัวอักษรใหญ่ |
(5) แบบละครสัตว์ (Circus Layout) เป็นการจัดวางหน้าสิ่งพิมพ์ตามที่ผู้ออกแบบเห็นว่ามีความสวยงามด้วยการบรรจุสิ่งต่างๆเข้าด้วยกันโดยวางกระจัดกระจายระเกะระกะเหมือนละครสัตว์ที่มีสัตว์หลายชนิดอยู่ด้วยกัน
รูปที่ 3.18 รูปแบบการจัดหน้าแบบละครสัตว์ |
(6) แบบช่องแถบซ้อน (Multipanel Layout) เป็นการวางหนังสือการ์ตูนที่แบ่งเป็นช่องๆ และมีข้อความแทรกไว้ใต้ภาพหรือแจ้งเรื่องราวอย่างต่อเนื่อง
รูปที่ 3.19 รูปแบบการจัดหน้าแบบช่องแถบซ้อน |
(7) แบบเข้าโค้งเงาทึบ (Silhouette Layout) การจัดหน้าโดยการคำนึงถึงเงาเค้าโครงของภาพวัตถุที่ต้องนำมาวางบนงานพิมพ์โดยมีส่วนประกอบอื่นๆ เป็นองค์ประกอบ
รูปที่ 3.20 รูปแบบการจัดหน้าแบบเค้าโครงเงาทึบ |
3.2.2 การเตรียมข้อมูลเพื่อจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์
การเตรียมข้อมูลเพื่อจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
1.เตรียมส่วนประกอบต่างๆสื่อสิงพิมพ์จะมีส่วนประกอบหลายอย่างเพื่อนำมาจัดวางในหน้ากระดาษในขั้นตอนนี้จึงเป็นการจัดเตรียมข้อมูล เช่น พิมพ์เนื้อหาเรื่องราวเตรียมภาพและส่วนปรกอบที่หาเพิ่มเติมหรือจากแฟ้มที่มีอยู่ วาดประกอบภาพเตรียมแผนภูมิหรือสถิติต้องใช้เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องทำงานจัดเตรียมให้เรียบร้อยเสียก่อนที่จะทำงานกับโปรแกรม
2.จัดวางข้อความและภาพ จะเป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์โปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ ได้แก่โปรแกรมอะโดบีเพจเมกเกอร์โปนแกรมอะโดบีอินดีไซต์โดยอาจจะใช้แม่แบบ เช่น แผ่นพับ ปกเทป เป็นต้น เพื่อนำส่วนประกอบที่เตรียมไว้ใส่ลงในแม่แบบหรือจะสร้างหน้ากระดาษขึ้นขึ้นใหม่โดยจัดขอบว่างตามขนาดที่กำหนดไว้ มีเส้นแนวในการจัดวางข้อความและภาพเมื่อกำหนดตำแหน่งหน้าสิ่งพิมพ์เรียบร้อยแล้วจึงทำการจัดวางข้อความภาพรวมถึงส่วนประกอบอื่นๆที่เตรียมไว้แร้วลงในหน้าสื่อสิ่งพิมมพ์ตามกำหนด
3.ปรับแต่งสื่อสิ่งพิมพ์ได้แก่ การปรับแต่งรายละเอียดต่างๆเช่นปรับระยะห่างระหว่างไม้บรรทัด จัดย่อหน้า ข้อความ จัดแต่งหัวเรื่องโดยอาจเปลี่ยนแบบอักษรหรือขนาดใหม่ให้เหมาะสมการตกแต่งสีข้อความ เป็นต้น เพื่อให้ได้สื่อสิ่งพิมพ์ที่สวยงาม
4. จัดทำสารบัญและดัชนี ในกรณีที่เนื้อหาจัดการพิมพ์มีเนื้อหามากควรอำนวยสะดวกแก่ผู้อ่านด้วยการทำสารบัญและดัชนีเพื่อช่วยในการอ่านและบางครั้งอาจอาจมีรายการตารางและรายการภาพประกอบเพื่อความละเอียดยิ่งขึ้นและจากที่จัดแต่งหน้ากระดาษสื่อสิ่งพิมพ์เรียบร้อยแล้วถ้าผู้จัดทำมีเครื่องพิมพ์เลเซอร์หรือเครื่องพิมพ์พ้นหมึกก็สามารถผลิตสื่อสิ่งพิมพ์นั้นได้แต่ถ้าเป็นการผลิตจำนวนมากก็จำเป็นต้องส่งต้นฉบับที่จัดทำไปโรงพิมพ์เพื่อจัดพิมพืต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
รูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ในปัจจุบันมีหลากหลายเพื่อให้ผู้ใช้และผู้อ่านสามารถเลือกได้ตามความต้องการสื่อสิ่งพิมพ์แต่ละชนิดมีความน่าสนใจดึงดูดใจที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานบางชนิดมีรูปแบบเป็นเล่มขนาดใหญ่ เล่มขนาดเล็กเป็นแบบใบเดียวมีความแตกต่างกันในการเลือกใช้วัตถุในการผลิต เช่น ผลิตจากกระดาษ พลาสติด โลหะ ยางเป็นต้น
การจัดรูปแบบตัวอักษรและการพิมพ์ มีความสำคัญต่อการจัดการสื่อสิ่งพิมพ์เพราะสื่อสิ่งพิมพ์แต่ละประเภทมีการใช้พิมพ์และตัวอักษรที่แตกต่างกันได้แก่ ลักษณะตัวอักษร ขนาดตัวอักษร ตำแหน่งตัวอักษร การจัดตำแหน่งข้อความ ผู้ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ควรพิจารณาตัวอักษรให้มีความเหมาะสม นอกจากให้ความสำคัญตัวอักษรและตัวพิมพ์แล้วในการจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์ก็เป็นสิ่งที่ทำให้สิ่งพิมพ์มีความแตกต่างกัน และดึงดูดใจผู้อ่านได้หลากหลายกลุ่ม รูปแบบการจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์มีหลายรูปแบบเพื่อให้ผู้ผลิตได้เลือกใช้เหมาะสมกับงาน ได้แก่ รูปแบบการจัดหน้าออกเป็นส่วนการจัดหน้าแบบสมดุลรูปแบบสมดุล รูปแบบอสมรูปการจัดหน้าตามความนิยมมอนเดรียน แบบการเน้นภาพ แบบเน้นกรอบภาพ แบบตัวอักษรใหญ่ แบบละครสัตว์ แบบช่องแถบซ้อน แบบเค้า
โครงเงาทึบการจัดหน้าตามแนวนอน การจัดหน้าตามแนวดิ่ง ผู้ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์สามารถนำความรู้ ความเข้าใจในการจัดรูปแบบและจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์มาใช้ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ได้ตรงวัตถุประสงค์และคุณภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น